ร่วมกันทำความดีเพื่อแผ่นดิน
กลุ่มสัญจรเพื่อสังคม

1.ชื่อโครงงาน บำเพ็ญประโยชน์เพื่อในหลวง
2.เจ้าของโรงงาน กลุ่มสัญจรเพื่อสังคม
3.ประธานที่ปรึกษาโครงงาน คุณอรุษ ผิวอ่ำ และ คุณพัชรี ศรีเอี่ยมกูล ( ผู้ก่อตั้งกลุ่ม)
4.บุคคลผู้รับผิดชอบโครงงาน
1.คุณจำเริญ คำนิล ประธานกลุ่มสัญจรฯปี 2553
2.คุณพิชิต ทรัพย์อบรม รองประธานฝ่ายวิชาการ
3.คุณศิริพร สุ่มเมา รองประธานฝ่ายสวัสดิการ
3.คุณสุพรพรรณ จีนอิ่ม รองประธานฝ่ายกิจกรรม
4.คุณวรินทร สิทธิยศ เลขานุการ
5.คุณพัชรี ศรีเอี่ยมกูล เหรัญญิก
6.คุณกาญจนา ธนโชติวรพงศ์ ประสานงาน
8.คณะนักเรียนชมรม ( INTERACT NB.) โรงเรียนสตรีนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี สันทนาการ
9.บุคคลผู้เข้าร่วมในโครงงานทุกท่าน ประชาสัมพันธ์
5.สถานที่ในการจัดทำโครงงาน

6.หลักการและเหตุผลโครงงาน
ในฐานะที่กลุ่มเป็นส่วนหนึ่งในสังคม และเราในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่มีในหลวงอันเป็นที่รักของเราทุกคน ซึ่งท่านได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมและประชาชนนานัปการมาโดยตลอด ตั้งแต่เรายังจำความได้ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ประธานที่ปรึกษา( ผู้ก่อตั้งกลุ่มฯ ) ได้ก่อตั้งกลุ่มเล็กๆ ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้ชื่อว่า " กลุ่มสัญจรเพื่อสังคม " เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่
ในช่วงแรกกลุ่มได้รวบรวมสมาชิกจากญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทมิตรสหาย โดยใช้งบประมาณในการจัดทำกิจกรรมในโครงงานต่างๆ จากงบประมาณของสมาชิกกลุ่มเองทั้งสิ้นซึ่งโครงงานที่กลุ่มได้จัดทำกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเป็นสถานที่ครั้งแรก ใช้ชื่อว่า " แบ่งปันน้ำใจสู่สังคม " เมื่อปี พ.ศ. 2543 ณ. โรงเรียนบ้านพุปู ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมา กลุ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วไปและมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับโดยมีหลากหลายอาชีพทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา และทุกศาสนา แต่สมาชิกกลุ่มทุกคนมีจุดมุ่งหมายและจุดยืนเป็นอย่างเดียวกันคือ " การทำตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ โดยไม่หวังสิ่งอื่นใดเป็นการตอบแทน" ซึ่งขณะนี้กลุ่มได้ดำเนินและจัดทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องย่างเข้าปีที่ 10 แล้ว นับแต่ได้ก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2552 นี้ซึ่งเป็นปีที่ 10 ของการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาก็เช่นเดียวกัน ทางกลุ่มจึงได้มีการจัดทำกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยในครั้งนี้ใช้ชื่อโครงงานว่า " บำเพ็ญประโยชน์เพื่อในหลวง " เพื่อให้สอดคล้องกับรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน และเพื่อให้ประชาชนระลึกถึงคุณความดีของพระเจ้าอยู่หัวซึ่งท่านได้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคมและประชาชนมาโดยตลอดทุกคนทราบเป็นอย่างดี
7.วัตถุประสงค์โครงงาน
1.ปลูกจิตสำนึกให้บุคคลผู้เข้าร่วมโครงงาน เกิดความรักและหวงแหนแผ่นดินที่อาศัยอยู่ทั้งเล็งเห็นถึงความเหน็ดเหนื่อยที่ในหลวงได้ทำคุณประโยชน์แก่ประชาชนโดยตลอดประกอบกับให้ประชาชนคนไทยรู้รักสามัคคีไม่ว่าจะนับถือศาสนาและอยู่ฝ่ายใดก็ตาม
2.สร้างความรักใคร่และความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลผู้เข้าร่วมโครงงานแลประชาชนในท้องถิ่นนั้น ตลอดจนเพื่อให้รู้ว่าคนไทยมีน้ำใจและไม่เคยทอดทิ้งกัน
3.เพื่อส่งเสริมให้บุคคลผู้เข้าร่วมโครงงานรู้จักการให้ การช่วยเหลือผู้อื่น และการเสียสละต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งสมกับปณิธานที่กลุ่มสัญจรเพื่อสังคมได้วางไว้ตั้งแต่ต้น
8.เป้าหมายโครงงาน
1.เพื่อให้กลุ่มสัญจรเพื่อสังคมอยู่เคียงข้างสังคมและประเทศชาติ เพื่อให้ความช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประชาชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป
2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลผู้เข้าร่วมโครงงานให้มีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ กล้าคิดกล้าทำ และกล้าแสดงออกหรือกล้าแสดงความเห็นต่อสังคมในหนทางที่ถูกต้อง
9.ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน
1.เพื่อให้นักเรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อสังคมโดยรวม และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเสียสละและเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไปในภายภาคหน้า
2.สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างบุคคลผู้เข้าร่วมโครงงานและประชาชนในท้องถิ่นนั้น อีกทั้งทำให้รู้จักการช่วยเหลือและการแบ่งปันน้ำใจให้แก่กัน
3.การสนับสนุนงบประมาณหรือเข้าร่วมการจัดทำกิจกรรมในโครงงานดังกล่าวนั้น จึงถือว่าเป็นคุณงามความดีประเภทหนึ่งที่บุคคลนั้นได้ช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติแล้ว ซึ่งสามารถนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้แก่บุคคลนั้นได้ส่วนหนึ่ง หากบุคคลนั้นต้องคดีอาญาและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับอัตราโทษที่ศาลพิพากษาไม่เกิน 3 ปี

10.ลักษณะการปฏิบัติงานมีด้วยกัน 2 ประเภท
1.ประเภทให้ความช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์
2.ประเภทกิจกรรมและนันทนาการต่างๆ
11.ระยะเวลาในการจัดทำโครงงานระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2553
12.บุคคลที่เข้าร่วมในการจัดทำกิจกรรมในโครงการ
สมาชิกกลุ่มสัญจรเพื่อสังคม และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมในกิจกรรมโครงงานนี้
ทุกท่านโดยไม่จำกัดจำนวน ตลอดจนไม่จำกัดเพศ วัย อายุ อาชีพและศาสนา
13.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.ศาลากลางจังหวัด
2.ที่ว่าการอำเภอ
3.องค์การบริหารส่วนตำบล
14.ขั้นตอนในการปฏิบัติโครงงาน
1.สำรวจพื้นที่สถานศึกษาถิ่นทุรกันดารต่างๆซึ่งตั้งอยู่ในโครงการพระราชดำริ
2.ศึกษาข้อมูลพื้นบ้านของชุมชนเพื่อนำมาเป็นฐานในการจัดทำกิจกรรม
3.ขออนุญาตสถานศึกษาที่จะจัดทำกิจกรรมในโครงงาน
4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.จัดเตรียมการล่วงหน้าเพื่อหางบประมาณและสิ่งของเพื่อใช้ในการจัดทำกิจกรรม
6.เชิญและชักชวนบุคคลเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงงาน
7.นำสมาชิกและบุคคล เข้าร่วมออกจัดกิจกรรมในโครงงาน
8.ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในโครงงาน
9.จัดส่งหนังสือขอบคุณและภาพถ่ายกิจกรรมถึงบุคคลผูให้การอนุเคราะห์และสนับสนุน
15.งบประมาณในการจัดทำโครงงาน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานที่ ในการทำกิจกรรม และการร่วมบริจาค
หมายเหตุ สิ่งของอันจำเป็นและต้องการของโรงเรียนและนักเรียน
1.ทุนการศึกษา
2.ชุดนักเรียนทั้งหญิงและชาย
3.อุปกรณ์การเรียนทุกชนิด
4.อุปกรณ์การกีฬา
5.เครื่องนอนสำหรับเด็กในระดับชั้นอนุบาล
6.ข้าวสารและเครื่องปรุงอาหารทุกประเภท
7.รถจักรยาน ( เพราะมีนักเรียนจำนวนหนึ่งอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน)
|